เมนู

นิพพานัสส ปัฏฐานปัญหา ที่ 7


สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา นิพฺพานํ อันว่าพระนฤพาน สนฺนิจิตํ ตั้งอยู่ในสถานที่ใด จะเป็นทิศไหน
เป็นบูรพทิศหรือทักษิณทิศ ปัจฉิมทิศ อุตรทิศ หรือเบื้องสูงเบื้องต่ำเบื้องขวางเป็นประการใด
พระผู้เป็นเจ้า
พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรจงตั้งจิตสวนาการ
นิพฺพานํ อันว่าพระนิพพานนั้น จะตั้งอยู่ในที่แห่งหนตำบลใดหามิได้ นะบพิตรพระราชสมภาร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีจึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า
แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ถ้าแม้ว่าพระผู้เป็นเจ้าว่า ที่ตั้งที่อยู่แห่งพระนิพพานนั้นไม่มีแล้ว พระ
นิพพานมิไม่มีหรือ คำที่ว่ากระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนี้ก็ผิด ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ
นาคเสนผู้วิจิตรด้วยปัญญา เหมือนภูมิฐานไร่นานี้ย่อมจะเป็นที่ตั้งแห่งพืชข้าวเปลือกทั้งสิ้น
ดอกไม้ย่อมเป็นที่ตั้งแห่กลิ่นเสาวคนธ์ รุกขชาติเป็นที่ตั้งแห่งผลมีมากที่สุด มหาสมุทรเป็นที่
ตั้งแห่งนานาชนิดแก้ว เมื่อคนทั้งปวงต้องการแล้วไปสู่ที่นั้น ๆ นำมาได้ แม้ว่าพระนิพพานนี้
ไซร้มีมั่นคงจริงกระนั้นก็จะมีที่สำคัญโอกาสที่อาศัย เหมือนหนึ่งสิ่งของที่ว่านั้น แห่ก็หามีไม่
เพราะฉะนั้นโยมจึงว่า พระนิพพานไม่มี และที่กล่าวว่ากระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้น คำนี้ก็ผิด
พระนาคเสนจึงวิสัชนาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ
นิพฺพานสฺส โอกาโส อันว่าโอกาสเป็นที่ตั้งพระนิพพานนี้ จะได้มีเหมือนสิ่งทั้งหลายหามิได้
พระนิพพานนี้ไซร้ พระโยคาวจรเจ้าพิจารณาไปเห็นซึ่งอุทยวยะ คือที่เกิดและที่ดับแห่งสังขารแล้ว
จึงเห็นแจ้งได้ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ ธรรมดาว่าอัคคีจะได้
บังเกิดขึ้นโดยมีที่อยู่ปรากฏหามิได้ เมื่อบุคคลต้องการ จะเอาไม้แม่ไฟมาสีเข้าก็เกิดเพลิงขึ้น
ยถา มีครุวนาฉันใด พระโยคาวจรเจ้าที่ตั้งใจปรารถนาพระนิพพานนั้นพิจารณาซึ่งอุทยวยะคือที่
เกิดที่ดับแห่งสังขารธรรมแล้ว พระโยคาวจรนั้นก็กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ดุจเอาไม้แม้ไฟสี
เข้าแล้วได้ไฟฉะนั้น
มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ประการหนึ่งอันว่าแก้ว 7 ประการ
แห่งสมเด็จบรมจักรนั้น เสยฺยถีทํ คือสิ่งใด จกฺตรตนํ คือจักรแก้ว หตฺถิรตนํ คือช้างแก้ว
อสฺสรตนํ คือม้าแก้ว มณิรตนํ คือแก้วมณี อิตฺถีรตนํ คือนางแก้ว คหปติรตนํ คือคหบดีแก้ว
ปรินายกรตนํ คือขุนพลแก้ว อันว่าแก้ว 7 ประการนี้ จะได้มีโอกาสอยู่เป็นนิตย์ คือเก็บไว้ใน
ประเทศที่ใดหามิได้ เมื่อบุญแห่งบรมจักรถึงแล้ว อันว่าแก้ว 7 ประการนั้นก็มาสู่สำนักบรม-

จักรพรรดิกษัตราธิราช ยถา ฉันใด พระโยคาวจรเจ้าเมื่อเห็นอุทยวยะเกิดที่ดับแห่งสังขารแล้ว
ก็กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน พระนิพพานนั้นก็มาถึงเข้าเอง เปรียบดังแก้ว 7 ประการ อัน
มาสู่สำนักบรมจักรพรรดิราชเองฉะนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าว่าพระนิพพานนั้นหามีที่อยู่ไม่ แต่ฐานะที่จะได้พระนิพพาน
นั้นมีอยู่ ถ้าบุคคลผู้ปฏิบัตินั้น ตั้งอยู่ในฐานะอันควรจะได้แล้ว บุคคลผู้นั้นก็กระทำให้แจ้งซึ่งพระ
นิพพานได้ อย่างนั้นคือ
พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า เออกระนั้นแหละซิ พระราชสมภาร ฐานํ อันว่าฐานะที่จะ
ได้นิพพานนั้นอยู่ โยคาวจรเจ้าผู้ใดตั้งอยู่ในฐานะอันควรจะได้แล้ว ก็จะกระทำให้แจ้งซึ่งพระ
นิพพานนั้น ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมิทราธิบดีมีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่
พระนาคเสนผู้ปรีชา อันว่าฐานะนั้นมีอธิบายเป็นประการใด พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า สีลํ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐ อันว่าฐานะนั้นคือศีลอันเลิศ พระโยคาวจรนักปราชญ์ผู้ประเสริฐอันสถิตให้ศีลนั้น กระ
ทำมนสิการโดยแยบคายแล้ว จะตั้งอยู่ที่ใดก็ตาม ย่อมกระทำพระนิพพานให้แจ้งได้ เปรียบดัง
บุคคลอันสถิตอยู่ในป่าสกายวันก็ดี อลสันทรครก็ดี กาสีโกศลนครก็ดี กัสมิรนครก็ดี คันธารนครก็ดี
บนยอดเขาก็ดี ในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสก็ดี ย่อมจะเห็นอากาศเหมือนกันทั้งนั้น ความนี้
เปรียบฉันใด บุคคลตั้งอยู่ในศีลนั้น กระทำมนสิการโดยแยบคายแล้ว จะสถิตอยู่ในที่ใดก็ดี
ย่อมจะทำพระนิพพานให้แจ้งได้ ฉันนั้นแล
ประการหนึ่ง ซึ่งว่าบุคคลอยู่ในป่าสกายวันบุรพทิศก็ปรากฏ บุคคลจะอยู่ในเมืองทั้ง
หลายมีเมืองอลสันทะเป็นต้นก็ดี และในพรหมโลกชั้นสุทธาวาสก็ดี บุรพทิศก็ปรากฏเหมือนกัน
ยถา มีครุวนาฉันใด บุคคลตั้งอยู่ในศีลแล้ว ก็คงจะกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เปรียบเหมือน
บุคคลซึ่งอยู่ในป่าสกายวันเป็นอาทิ บุรพทิศก็ย่อมปรากฏเหมือนกันฉะนั้น นี่แหละบพิตร
พระราชสมภาร พึงทรงพระสันนิษฐานเข้าพระทัยเถิด ว่าศีลนี้ประเสริฐยิ่ง ผู้ใดตั้งอยู่ในศีลนั้น
ศีลก็เป็นฐานะเป็นประธานที่จะให้ผู้นั้นเห็นแจ้งซึ่งทรงพระนิพพานเป็นเที่ยงแท้ ขอถวายพระพร
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรตรัสสรรเสริญว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค-
เสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้ามาประดิษฐานไว้ซึ่งธรรมเธชะ ธงชัยคือธรรมให้เป็นที่สำคัญอันวิเศษ
อันได้แก่ศีลซึ่งเป็นฐานะเป็นประธานที่จะให้ผู้นั้นเห็นแจ้งซึ่งทางพระนิพพานนี้ โยมยินดีนักหนา

สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับถ้อยคำจำไว้เป็นผลเป็นคุณแก่กุลบุตรอันจะเกิดข้างหน้าในกาลบัดนี้
นิพพานนัสส ปัฏฐานปัญหา คำรบ 7 จบเพียงเท่านี้

อนุมานปัญหา ที่ 8(1)


อถ โข

ในกาลนั้นแท้จริง โส มิลินฺโท ราชา อันว่าสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์
มีพระราชโองการตรัสปราศรัยถ้อยคำเป็นสาราณียกถา กับด้วยพระนาคเสนผู้จอมปราชญ์แล้ว
มีพระหฤทัยใครจะทรงทราบสิ่งที่ยังไม่ทรงทราบและเพื่อทรงจำไว้กระทำให้แจ้ง เห็นแสงสว่าง
แห่งญาณทำลายอวิชชา ยังปัญญาให้เกิดขึ้น ก้าวล่วงกระแสแห่งสงสารและตัดกระแสแห่ง
ตัณหา ดื่มซึ่งน้ำอมฤตรสคือพระนิพพาน จึงทรงตั้งพระฉันทอัธยาศัยและพระวายามปัญญา
อุตสาหะตั้งสติสัมปชัญญะให้มั่งคงเป็นอันดีแล้ว ตรัสถามพระยาคเสนต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน
ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พุทฺโธ อันว่าองค์สมเด็จพระพุทธเจ้านั้น ตยา ทิฏฺโฐ อันพระผู้เป็น
เจ้าได้เห็นหรือประการใด
พระนาคเสนวิสัชนาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร อาตมาจะได้ทัศนาการ
เห็นมามิได้

(1) คัมภีร์มิลินทปัญหานี้ ตอนอารัมภกถาแบ่งปัญหาไว้เป็นประเภทใหญ่ 5 ประเภท คือประเภทที่ 1
มิลินทปัญหา ประเภทที่ 2 เมณฑกปัญหา ประเภทที่ 3 อนุมานปัญหา ประเภทที่ 4 ลักขณปัญหา ประเภทที่
5 อุปมากถาปัญหา แต่มาในตอนที่แบ่งปัญหาประเภทใหญ่ออกเป็นวรรณคดีเป็นเรื่อง ประเภทที่ 3 ที่ 4
หายไป ชื่ออนุมานปัญหายังปรากฏอยู่ แต่เอาบวกเข้าเป็นเรื่องที่ 8 ในวรรคที่ 9 ของเมณฑกปัญหา สังเกต
ดูรูปความ เห็นว่าเป็นอนุมานปัญหาประเภทใหญ่นั้นเอง แต่หากไม่ได้แบ่งเป็นวรรคเป็นเรื่อง ผู้รวมเรื่องใน
ชั้นเดิมจึงจัดเอาเป็นปัญหาหนึ่ง รวมเข้าใจเสียในเมณฑกปัญหา ที่ถูกคงเป็นปัญหาประเภทใหญ่ที่ 3 นั้นเอง
จึงแยกออกพิมพ์เป็นประเภท 1 ต่างหาก คงแต่คำว่าวรรคและเรียงจำนวนเลขไว้ตามบาลี บอกไว้สำหรับ
พิจารณาเท่านั้น ส่วนปัญหาประเภทใหญ่นั้นเอง แต่หากไม่ได้แบ่งเป็นวรรคเป็นเรื่อง ผู้รวมเรื่องใน
ชั้นเดิมจึงจัดเอาเป็นปัญหาหนึ่ง รวมเข้าเสียในเมณฑกปัญหา ที่ถูกคงเป็นปัญหาประเภทใหญ่ที่ 3 นั้นเอง
จึงแยกออกพิมพ์เป็นประเภท 1 ต่างหาก คงแต่คำว่าวรรคและเรียงจำนวนเลขที่ไว้ตามบาลี บอกไว้สำหรับ
พิจารณาเท่านั้น ส่วนปัญหาประเภทใหญ่ที่ 4 คือลักขณปัญหานั้นหายสูญชื่อไปทีเดียว แต่เมื่อตรวจดู
รูปความ เห็นว่าธุตังคปัญหาเรื่องที่ 9 ต่อจากอนุมานปัญหานี้แหละเป็นลักขณปัญหา เพราะกล่าวลักษณะ
ต่าง ๆ มาก แต่เนื้อเรื่องกล่าวด้วยธุดงค์ ผู้ให้ชื่อจึงเขียนลงไว้ว่าธุตังคปัญหา ได้พิมพ์แยกไว้เป็นแผนกหนึ่ง
เหมือนกัน จะผิดถูกอย่างไรแล้วแต่นักปราชญ์จะวินิจฉัย